หลักสูตรก้าวสู่พ่อแม่มืออาชีพ

Posted in Training Course

Facebook Twitter Email


หลักสูตร
ก้าวสู่พ่อแม่มืออาชีพ

         ทำไมต้องเป็นพ่อแม่มืออาชีพ ?

         เพื่อเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็ง ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านได้แก่ ด้านความผูกพันทางอารณ์ (Emotional attachment) ด้านการปฏิบัติหน้าที่ (Family functioning) และด้านการแก้ไขปัญหาอุปสรรค (Problem solving) อันนำมาซึ่งการอยู่ดีมีสุขของครอบครัว ท่ามกลางสถานการณ์วิกฤติของครอบครัวและสังคม จะทำได้อย่างไร คำตอบสำคัญก็คือการเสริมสร้างทักษะการใช้ชีวิตครอบครัวโดยเริ่มต้นจากหัวหน้าครอบครัว ได้แก่พ่อแม่ ผู้ปกครอง
ทักษะที่จำเป็นสำหรับพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าทักษะพ่อแม่มืออาชีพนั้น ต้องอาศัยความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบความเข้มแข็งของครอบครัว คุณลักษณะพ่อแม่ที่พึงประสงค์ การรู้เท่าทันปัญหาครอบครัว การรู้จักใช้จิตวิทยาครอบครัวมาประยุกต์ใช้อย่างได้ผล ในเบื้องต้นขอนำเสนอ 4 ทักษะได้แก่ ทักษะแก้ลูกติดเกมส์ ทักษะสานสัมพันธ์พ่อแม่ลูก ทักษะพ่อแม่อารมณ์ดี และทักษะตักเตือนเชิงบวก
หลักสูตรนี้ จึงบูรณาการ 4 องค์ความรู้ไว้ด้วยกัน ได้แก่ จิตวิทยาการให้คำปรึกษาครอบครัว โมเดลคุณลักษณะครอบครัวเข้มแข็ง จิตวิทยาเชิงบวกและการฝึกอบรมแบบพัฒนาขีดความสามารถ เพื่อพัฒนาพ่อแม่ผู้ปกครองสู่การเป็นพ่อแม่มืออาชีพ

   วัตถุประสงค์   
        เพื่อพัฒนาทักษะในการอบรมเลี้ยงดูบุตรหลานและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัว ซึ่งช่วยให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุขท่ามกลางสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ประกอบด้วย
        1. สามารถอธิบายความสัมพันธ์องค์ประกอบครอบครัวเข้มแข็งกับทักษะเชิงจิตวิทยาได้
        2. สามารถใช้ทักษะเชิงจิตวิทยา (Psychological skill) เพื่ออบรมเลี้ยงดูบุตรหลานได้
        3. สามารถเลือกทักษะเชิงจิตวิทยา เพื่อสร้างนำซ่อมแก่ครอบครัวในสถานการณ์จริง

ขีดความสามารถที่จะได้รับการพัฒนา:

ขีดความสามารถในการบริหารตนเอง (Self management competency)
ขีดความสามารถในการสื่อสาร (Communication competency)
ขีดความสามารถในการวางแผนและคิดแก้ปัญหา (Planning & problem solving competency)
ขีดความสามารถในการสร้างความผูกพันที่ยั่งยืน (Emotional attachment competency)

       ระยะเวลา: 2-3 ชม.

       จำนวนผู้เข้าร่วม: 30-50 ท่าน

       รูปแบบวิธีและสื่อ (Experiential-Focused Learning)
กิจกรรมสนุกกระตุกคิด (Psychological Activity), กิจกรรมฝึกปฏิบัติ (Exercise), สถานการณ์จำลอง(Artificial Situation), การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Story telling), การสาธิต (Demonstration), แบบทดสอบตนเอง (Self testing), การอภิปรายกลุ่มย่อย(Group Discussion), กรณีศึกษา (Case Study), ภาพยนตร์ดีมีบทเรียน (Lesson from Movies), บรรยาย (Lecture) เป็นต้น

468 ad