การเพิ่มผลผลิตในตนเอง

Posted in Training Course

Facebook Twitter Email

         หลักสูตร การเพิ่มผลผลิตในตนเอง

  • จะทำอย่างไรให้บุคลากรทำงานร่วมกันอย่างกระตือรือร้นและมีความสุข?
  • มีวิธีใดบ้าง ที่เพิ่มผลการปฏิบัติงาน โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่?
  • อยากให้ทุกคนทำงานด้วยเชื่อมั่นและเห็นคุณค่า จะมีวิธีช่วยอย่างไร?

         ร่วมกันค้นหาคำตอบกับ ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ ได้ใน “การเพิ่มผลผลิตในตนเอง”

         ทำไมต้องเพิ่มผลผลิตในตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่ามกลางวิกฤติ ?
          เพื่อยังคงรักษาผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานและความสุขในการทำงานของพนักงานไว้ได้ท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจ โดยไม่ต้องเพิ่มทุนทางการเงิน (Financial capital) ทุนทางเทคโนโลยี หรือทุนทางทรัพยากรแต่อย่างใด จะทำได้อย่างไร คำตอบคืออาศัยทุนมนุษย์ (Human capital) หรือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human resource development)
การพัฒนาบุคคลากรให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลทั้ง 3Life (Worklife, Familylife, Personallife) อย่างสมดุลนั้น ย่อมส่งผลทำให้เกิดผลผลิตในตนเอง (Personal productivity) เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนนั้น ซึ่งสามารถทำได้โดยปรับปรุงตนเองอย่างต่อเนื่องในประเด็นเหล่านี้ ได้แก่ การวางแผนชีวิต การค้นหาศักยภาพในตนเอง การจูงใจตนเอง การบริหารเวลา การสื่อสารเชิงบวก เป็นต้น

วัตถุประสงค์ 
        เพื่อสำรวจและเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน อันนำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ระดับองค์กรภาพรวมในปัจจุบันและอนาคต ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย

  1. สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง การเพิ่มผลผลิตในตนเอง (Personal Productivity) กับ 3Life Balance ได้
  2. สามารถใช้ทักษะเชิงจิตวิทยา (Psychological skill) เพื่อจูงใจตนเองสู่ความเป็นเลิศได้
  3. สามารถใช้ทักษะเชิงจิตวิทยา เพื่อบริหารเวลาและบริหารพลังได้
  4. สามารถใช้ทักษะเชิงจิตวิทยา เพื่อสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ได้
  5. สามารถเลือกทักษะเชิงจิตวิทยา เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง

ขีดความสามารถที่จะได้รับการพัฒนา:
ขีดความสามารถในการบริหารตนเอง (Self Management Competency)
ขีดความสามารถในการสื่อสาร (Communication Competency)
ขีดความสามารถในการทำงานเป็นทีม (Teamwork competency)

         ระยะเวลา: 6 ชม.

         จำนวนผู้เข้าร่วม: 30-50 ท่าน

         รูปแบบวิธีและสื่อ (Experiential-Focused Learning)
กิจกรรมสนุกกระตุกคิด (Psychological Activity), กิจกรรมฝึกปฏิบัติ (Exercise), สถานการณ์จำลอง(Artificial Situation), การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Story telling), การสาธิต (Demonstration), แบบทดสอบตนเอง (Self testing), การอภิปรายกลุ่มย่อย(Group Discussion), กรณีศึกษา (Case Study), ภาพยนตร์ดีมีบทเรียน (Lesson from Movies), บรรยาย (Lecture) เป็นต้น

468 ad