หลักสูตรแผนภูมินักคิด Thinker map

Posted in Training Course

Facebook Twitter Email

         หลักสูตรแผนภูมินักคิด Thinker map…เครื่องมือพัฒนา 7 ทักษะวิธีคิดเพื่อเพิ่มผลผลิต

  • จะทำอย่างไรให้สินค้าหรือบริการของเรา โดดเด่น โดนใจลูกค้า ในราคาที่แข่งขันได้?
  • มีวิธีใดบ้าง ที่จะฝ่าวิกฤติไปได้ โดยใช้ทรัพยากรเท่าที่มีอยู่?
  • ท่ามกลางความผันผวน จะทำอย่างไรให้ทุกคนในองค์กรคิดบวกเป็น และเสริมแรงใจตนเองได้ด้วยตัวเอง?
  • เจอทางตัน อยากคิดให้เก่งๆ คิดออกได้ทุกสถานการณ์ จะทำอย่างไรดี
  • อยากคิดริเริ่มสิ่งใหม่ ๆ ได้โดยไม่ยาก ทำอย่างไรดี

ร่วมกันค้นหาคำตอบกับ ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์ ได้ใน
“แผนภูมินักคิด Thinker map…เครื่องมือพัฒนา 7 ทักษะวิธีคิดเพื่อเพิ่มผลผลิต”

        ทำไมต้องใช้ Thinker map เพื่อพัฒนาทักษะวิธีคิด?
        เพราะแผนภูมินักคิด (Thinker map) เป็นเครื่องมือช่วยคิดที่สอดคล้องกับการทำงานของสมอง 2 ซีก ทำให้ไม่ว่าจะเป็นวิธีคิดแบบสมองซีกซ้าย (เช่น คิดวางแผน, คิดเชิงกลยุทธ์ เป็นต้น) หรือสมองซีกขวา (เช่น คิดมุ่งทางออก คิดเปิดน่านน้ำสีคราม เป็นต้น) ก็สามารถพัฒนาได้ด้วยแผนภูมินักคิดฉบับ 7 Thinker map
หลักสูตรนี้จึงบูรณาการ 4 แนวคิดเข้าด้วยกัน ได้แก่ การเพิ่มผลผลิต (Productivity improvement); การคิดเชิงระบบ (System thinking); แผนภูมินักคิด (Thinker map) และทักษะการคิดหลากมิติ นอกจากนี้เพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถ (Competency development) ที่ลงลึกและคงทน จึงใช้กระบวนการฝึกอบรมแบบเน้นประสบการณ์และมีส่วนร่วม (Experiential learning) ร่วมด้วย

วัตถุประสงค์      
       เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการคิดด้วยการใช้แผนภูมินักคิดฉบับ 7 Thinker map ซึ่งช่วยเพิ่มผลการปฏิบัติงาน (Performance Improvement) นำมาซึ่งการเพิ่มผลผลิต (Productivity) ระดับองค์กรภาพรวมในปัจจุบันและอนาคต ท่ามกลางปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย

  1. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดวางแผน
  2. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดเชิงกลยุทธ์
  3. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดเปิดน่านน้ำสีคราม
  4. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดมุ่งทางออก
  5. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดเชิงบวก
  6. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดมุ่งพัฒนา
  7. สามารถพัฒนาขีดความสามารถในการคิดบริหารอารมณ์
  8. สามารถเลือกใช้ 7 ทักษะวิธีคิด เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง

ขีดความสามารถที่จะได้รับการพัฒนา:

  • ขีดความสามารถในการคิดวางแผนและกลยุทธ์ (Planning & Strategic competency)
  • ขีดความสามารถในการบริหารตนเอง (Self management competency)
  • ขีดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา (Problem solving competency)

         ระยะเวลา: 6 ชม. (ปรับได้ตามแต่ท่านเห็นสมควร)

         จำนวนผู้เข้าร่วม: 30-50 ท่าน

         รูปแบบวิธีและสื่อ (Experiential-Focused Learning)
กิจกรรมสนุกกระตุกคิด (Psychological Activity), กิจกรรมฝึกปฏิบัติ (Exercise), สถานการณ์จำลอง(Artificial Situation), การเล่าเรื่องเร้าพลัง (Story telling), การสาธิต (Demonstration), แบบทดสอบตนเอง (Self testing), การอภิปรายกลุ่มย่อย(Group Discussion), กรณีศึกษา (Case Study), ภาพยนตร์ดีมีบทเรียน (Lesson from Movies), บรรยาย (Lecture) เป็นต้น

สาระสำคัญ

  1. ศักยภาพสมอง 2 ซีก นั้นเป็นไฉน? : แบบสำรวจและองค์ประกอบ
  2. สมอง 2 ซีก กับความคิดสร้างสรรค์ เกี่ยวข้องกันอย่างไร?: Creative Mind
  3. Creative Thinker Map นั้นเป็นไฉน?: จาก Mind Map สู่ Thinker Map
  4. ทักษะการคิดขั้นสูง…หัวใจสำคัญของ Thinker Map นั้นเป็นไฉน?
  5. คิดนอกกรอบช่วยเพิ่มผลผลิตตรงไหน? : Productivity Model Intervention
  6. ทำไมต้อง Creative Economy? :  ความหมาย ตัวอย่างและแนวโน้มในอนาคต
  7. Ideaship Roadmap: เส้นทางจากคิดนอกกรอบสู่สถานีนวัตกรรม นั้นเป็นไฉน?
  8. Paradigm shift: Problem VS Solution thinking ปรับกระบวนทัศน์สู่ความเหนือชั้น
  9. 12 บุคลิกแห่งนักคิดนอกกรอบ มีอะไรบ้าง?
  10. การสุ่มคำด้วย RWT ช่วยปรับปรุงสินค้า/บริการได้อย่างไร?
  11. บันได 4 ขั้นสู่การคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ที่ได้ผล เป็นอย่างไร?:4C
  12. กลยุทธ์ 4 ทิศทางของ Blue ocean strategy นั้นเป็นไฉน?
  13. IOU Voices…กุญแจไข 3 ระดับปัญญาญาณ (Intuition) นั้นเป็นไฉน
  14. บริหารพลังด้วย 12 อ…. สิ่งที่บริหารเวลาทำไม่ได้ นั้นเป็นไฉน (Enthusiastic power)
  15. กุญแจ 2 ดอกเพื่อพัฒนาขีดความสามารถ (4 Levels of Competency) เป็นอย่างไร: 2A
  16. สุดยอด 7 ทักษะเชิงจิตวิทยา (Psychological Skills) ช่วยกระตุ้นการคิดสร้างสรรค์นอกกรอบผ่าน Creative Thinker Map ได้อย่างไร: Roadmap Model ได้แก่ ทักษะคิดริเริ่ม, ทักษะสุ่มคำกำไร, ทักษะอ่านใจไขโจทย์, ทักษะคิดเปิดน่านน้ำสีคราม, ทักษะคิดมุ่งทางออก, ทักษะฟังเสียงหยั่งรู้, ทักษะหัวเราะบริหารสมอง
468 ad