ยิ่งขัดแย้ง ยิ่งสร้างสรรค์ มีด้วยหรือ?

Posted in Management

Facebook Twitter Email

ยามขัดแย้ง อย่างไหนช่วยคลี่คลายได้มากกว่ากัน นักพูด กับ นักฟัง
คมคิด: คนเขลาไม่เพลิดเพลินในความเข้าใจ แต่เพลิดเพลินในการแสดงความคิดเห็นของตนเท่านั้น (Adapted from Proverbs 18:2, 2012)

Q: บางครั้งในการทำงาน ก็เกิดปัญหาใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดนะครับ ก็ต้องการไอเดียใหม่ๆ สร้างสรรค์ แต่ลูกทีมผมก็ไม่ค่อยมีใครกล้าแสดงความคิดเห็นอะไรนัก ได้แต่รอรับคำสั่งทำตาม ผมจะทำยังไงดีครับ
A: หมอยุทธนา…อาจเกิดจากลูกทีมเคยถูกเบรกหรือถูกมองข้าม ตอนระดมสมองก็เป็นได้นะครับ ตั้งแต่นั้นเขาก็จะเหมารวมไปเลยว่า เสนออะไรใหม่ๆ ก็คงไม่เวิร์ค ทำตามหน้าที่ไปก็แล้วกัน

ครั้งหนึ่งผมไปฝึกอบรมเรื่อง “ถอดรหัส 7 อุปนิสัย…กุญแจไขพลังคิดบวก คิดสร้างสรรค์” ผมให้เขาฝึกแต่งเรื่องราวด้วย 12 คำโดยแบ่งเป็นกลุ่มๆ พบว่าทุกคนมีส่วนร่วมและได้เรื่องราวออกมาหลากหลายไม่ซ้ำกันเลยสักกลุ่ม ซึ่งเป็นเรื่องราวที่ใหม่และสร้างสรรค์ และสอดคล้องกันเป็นหนึ่งเดียว

สิ่งนี้บอกอะไร…บอกว่า ยิ่งถ้าทุกคนในทีม (ทั้งหัวหน้าและเพื่อนๆในทีม) เปิดใจฟังกันและกัน หลายสิ่งที่ดูเหมือนแตกต่าง หรือขัดแย้ง ก็สามารถประสานเข้ากันได้ อันนำมาซึ่งการประสานพลัง (Synergy) ซึ่งเป็นอุปนิสัยที่ 6 ในการทำงานที่มีประสิทธิผล

 

วันนี้ เพื่อสร้างบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการประสานพลัง ผมขอเสนอ 8 แนวทางในการสร้างใจที่เปิดกว้างรับฟังกันและกัน มาสำรวจตัวเราและทีมงานในเรื่องนี้ด้วยกัน (Adapted from Mind Tools. 2012)

 

แนวทางสร้างใจที่เปิดกว้างรับฟังกันและกันในทีม (Tolerance Team) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)

ช่วงที่ผ่านมา บรรยากาศการทำงานของท่าน เป็นอย่างไรบ้าง?  (กรุณา√หน้าข้อตามจริง)

  1. มีการฝึกให้ความสนใจ และรับฟังกันอย่างตั้งใจ เมื่อคนหนึ่งพูด
  2. มีการย้ำบอกและให้ความสำคัญว่า “แตกต่างเพื่อเติมเต็ม”  นั้นมีคุณประโยชน์และจำเป็นอย่างไร
  3. เมื่อมีข้อขัดแย้ง…ก็เปิดโอกาสอย่างเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายในการพูดเสนอความคิดเห็นและรับฟังกันและกัน
  4. ทุกคนได้รับการฝึกฝนให้มองในมุมมองของผู้อื่นอย่างเข้าอกเข้าใจ ไม่เพียงแสดงความคิดเห็นของตนเท่านั้น
  5. มีการฝึกให้คิดก่อนพูดหรือทำว่า สิ่งนั้น “เป็นความจริง, อิงเที่ยงธรรม, นำไมตรี, ดีทุกฝ่าย” หรือไม่ อยู่เสมอๆ
  6. มีการชื่นชม ให้คุณค่าแก่บุคคลที่ได้แสดงออกในการรู้จัก “ขอโทษ ให้อภัย ขอบคุณ” กันและกัน
  7. มีการสำรวจตรวจตรา& แก้ไขคำพูดหรือการกระทำ ที่บั่นทอน ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อย่างได้ผล
  8. มีมาตรการจัดการกับพฤติกรรมที่รบกวน, รังควาน, ยุยงให้กระทำผิด ทำการทุจริต อันก่อให้เกิดความเสียหายต่อทีม ต่อองค์กร

 

แปลผลและข้อเสนอแนะ: ยิ่งมีมาก ยิ่งแสดงว่ามีบรรยากาศเปิดใจรับฟังกันมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อประสิทธิผลการทำงานเป็นทีมตามมา โดยหากมี 1-2 ข้อ แสดงถึง มีบรรยากาศเปิดใจรับฟังกัน ไม่มากนัก, หากมี 3-6 ข้อ แสดงถึง มีบรรยากาศเปิดใจรับฟังกัน ปานกลาง, หากมี 7-8 ข้อ แสดงถึง มีบรรยากาศเปิดใจรับฟังกัน มาก

เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ มุ่งผลสัมฤทธิ์ที่เหนือชั้น…ด้วยพลัง 7 Habits Team, สู่ความเป็นเลิศ…ด้วยพลังทีมคิดบวก (Positive thinking team), บริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (Positive conflict resolution) สนใจกรุณาติดต่อ 02-9422420 ; yparanan@gmail.com

 “ทางของคนเขลานั้นถูกต้องในสายตาของเขาเอง
แต่ปราชญ์ย่อมฟังคำแนะนำ” ท่านเห็นด้วยหรือไม่
?

————

468 ad