7 แนวทางเสริมสร้างอหิงสา นั้นเป็นไฉน ?

Posted in Management, Special Contents

Facebook Twitter Email

ท่านคิดว่า อย่างไหนจะยั่งยืนกว่ากัน ระหว่าง ชนะศึก กับ ชนะใจ
คมคิด: บุคคลผู้โกรธช้าก็ดีกว่าคนมีกำลังมาก และบุคคลผู้ปกครองจิตใจของตนเองก็ดีกว่าผู้ที่ตีเมืองได้ (Adapted from Proverbs 16:32)

ในปี 1930 คานธีต้องการต่อต้านการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรม ที่สงวนการค้าขายเกลือไว้สำหรับคนต่างชาติเท่านั้น เขาและกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงอย่างสันติแต่จริงจังด้วยการเดินเท้าเป็นระยะทาง 240 ไมล์ ไปยังทะเลอาหรับเพื่อทำเกลือที่นั่นพร้อมกับผู้ติดตาม 80 คน
การเดินทางครั้งนั้นเป็นที่สนใจของชาวโลกอย่างมาก เขาเดินทางผ่านหมู่บ้านนับพันแห่ง กลุ่มผู้ชุมนุมของเขาจึงมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อถึงที่หมายทุกคนต่างทำเกลือและขายกันอย่างเปิดเผย นันเป็นการต่อสู้อย่างสันติวิธีซึ่งสะท้อนแนวทางอหิงสาของเขาที่ได้รับการชื่นชมอย่างล้นหลาม

อะไรเกิดขึ้นเมื่อ คานธียืนหยัดเพื่อความถูกต้องอย่างสันติท่ามกลางแรงกดดัน อะไรเกิดขึ้นเมื่อนายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะกล่าวถึงการปราบปรามจลาจลเมื่อเดือนเมษายน 2009 ว่า “การทำงานคลี่คลายเหตุการณ์ ตนไม่ถือว่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของชัยชนะ หรือการพ่ายแพ้ของใคร แต่หากเป็นชัยชนะของสังคมที่เข้าสู่ภาวะปกติ”

คำพูดดังกล่าวสะท้อนการรู้จักบังคับตน (Self regulation) การไม่ถือโกรธ (Forgiveness) และความรอบคอบรอบทิศ (Prudence) อันเป็นภาวะผู้นำฝ่าวิกฤติในมุมมองจิตวิทยาเชิงบวก ซึ่งส่งเสริมให้เกิดการตอบสนองที่สอดคล้องกับแนวทางอหิงสา ซึ่งหมายถึง การไม่เบียดเบียน ซึ่งการไม่เบียดเบียนนี้ ต้องตีความให้ลุ่มลึกมากกว่ากิริยาทางกาย กล่าวคือ หลักอหิงสาที่แท้จริง ที่ลุ่มลึกที่สุดคือ การเริ่มต้นจากจิตใจ ซึ่งไม่คิดเบียดเบียนผู้อื่น
หลักอหิงสาประกอบด้วยความรัก ความอดทน ความกล้าหาญ ความบริสุทธิ์และความซื่อสัตย์ดังโมเดลฯ ซึ่งคานธีได้กล่าวอธิบายหลักอหิงสาไว้อย่างน่าประทับใจในหนังสือการทดลองของมหาตมา คานธีว่า
“ความรักเป็นพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกรู้จัก และ ขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่อ่อนโยนที่สุดที่มนุษย์รู้จักด้วย”
“หนทางแห่งความดีนั้นดำเนินไปอย่างเชื่องช้า บุคคลผู้ต้องการประกอบคุณงามความดีนั้นย่อมไม่เห็นแก่ตัวและไม่รีบร้อน เขารู้ดีว่าการทำให้ผู้อื่นซาบซึ้งในคุณความดีนั้นต้องอาศัยเวลา ”
“ความกล้าหาญหมายถึงการปราศจากความกลัวในทุกลักษณะมันเป็นเสรีภาพจากความเกรงกลัวในลักษณะต่างๆเช่น ความกลัวตาย ความกลัวการประทุษร้าย การกลัวความจน หิวโหย ความตกต่ำ คำวิพากษ์วิจารณ์ และ ความโกรธแค้นของบุคคลอื่น ความกลัวผีสางเทวดา เป็นต้น”
“ไม่มีสิ่งใดจะน่าละอายไปกว่าการไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเอง”

แบบสำรวจแนวทางเสริมสร้างอหิงสา (Nonviolence Test) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)
ช่วงที่ผ่านมา เมื่อท่านต้องแสดงจุดยืนเพื่อความถูกต้องท่ามกลางแรงกดดัน ท่านตอบสนองอย่างไร
(กรุณา√หน้าข้อตามจริง)
1. ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ ฉันควบคุมอารมณ์ตนเองได้และไม่ใช้คำพูดหยาบคาย
2. ฉันพยายามนึกถึงว่า “หากฉันเจอแบบเขาบ้าง ฉันจะรู้สึกอย่างไร” ทำให้เข้าอกเข้าใจคู่กรณีมากยิ่งขึ้น
3. ฉันค้นหาส่วนดีที่มีอยู่ในตัวของคู่กรณี ทำให้ฉันไม่ด่วนสรุปและคิดได้รอบคอบยิ่งขึ้น
4. ฉันกล้าตัดสินใจทำในสิ่งที่ถูกต้อง แม้ว่าจะขัดกับความต้องการของผู้ใหญ่หรือผู้มีอิทธิพลก็ตาม
5. ฉันเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นและพร้อมพิจารณาเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขงานและตนเอง
6. แม้อีกฝ่ายจะมุ่งร้ายฉัน ฉันก็ยังปฏิบัติต่อเขาด้วยใจปรารถนาดี
7. ก่อนตัดสินใจทำอะไร ฉันพิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดกับส่วนรวมเป็นสำคัญ

แปลผลและข้อเสนอแนะ: ยิ่งมีมาก ยิ่งแสดงว่ามีความรักและแสดงออกอย่างอหิงสาท่ามกลางแรงกดดันได้มาก อันจะช่วยลดข้อขัดแย้ง นำมาซึ่งสมานฉันท์ ส่งผลดีต่อความสุขในชีวิตและประสิทธิภาพการทำงาน เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ บริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ (Positive conflict resolution), สู่ความเป็นเลิศ…ด้วยพลังทีมคิดบวก (Positive thinking team), สุนทรียสนทนา…กุญแจไขพลังทีมขีดสมรรถนะสูง

“สามัญสำนึกที่ดีกระทำให้คนโกรธช้า
และที่มองข้ามการทรยศไปเสียก็เป็นศักดิ์ศรีแก่เขา”
สนใจTraining กรุณาติดต่อ 02-9422420; Yparanan@Gmail.com; www.HowAreYou.co.th; www.facebook.com/ยุทธนา คิดบวก

————

468 ad