น้ำนม…น้ำตา…น้ำใจ

Posted in Parents Skill

Facebook Twitter Email

น้ำนม…น้ำตา…น้ำใจ
ถ้าเปลี่ยนได้ ท่านปรารถนาทำดีแบบใด ระหว่าง ทำดีเพื่อหวังผลตอบแทน กับ ทำดีด้วยใจรัก ?
คมคิด: ด้วยว่าต้นไม้ดีย่อมไม่เกิดผลเลว และต้นไม้เลวย่อมไม่เกิดผลดี
วันหนึ่งขณะที่เด็กน้อยยากจนคนหนึ่ง ชื่อ โฮเว็ร์ด เคลลี่ (Howard Kelly) กำลังเดินขายของตามบ้านเพื่อหาเงินเป็นค่าเล่าเรียน เขารู้สึกหิวจนตาลายและมีเงินติดตัวอยู่แค่สิบเซนต์ จึงอธิษฐานพระเจ้าและตั้งใจว่าเมื่อไปเคาะประตูบ้านถัดไปจะลองขออาหารดู คาดว่าจะได้พบแม่บ้านวัยกลางคนท่าทางใจดี แต่พอพบว่าผู้ที่มาเปิดประตูเป็นสุภาพสตรีน้อยใบหน้างดงาม หาใช่ตามที่คาดไว้ไม่ ก็เลยเปลี่ยนใจขอเป็นน้ำหนึ่งแก้ว
“ สุภาพสตรีเห็นหน้าเด็กน้อยค่อนข้างซึด เข้าใจว่าคงจะหิวจึงเอานมมาให้หนึ่งแก้วหลังจากดื่นนม
“ แล้วเด็กน้อยก็ถามตะกุกตะกักว่า “ค่านมเท่าไรครับ?”
“ สุภาพสตรีตอบว่า “ไม่เป็นไรจ้ะ ได้นมไปจะได้หนักท้องหน่อย ไม่ต้องเกรงใจนะจ้ะ”
“ เด็กน้อยรีบละล่ำละลักตอบว่า “ขอบคุณมากที่สุดเลยครับ” แล้วก็เดินออกจากบ้านมาด้วยความอิ่มท้อง อิ่มใจ ความทรงจำถึงใบหน้าที่งดงามอ่อนโยนของสุภาพสตีน้อยท่านนั้น และความรู้สึกขอบพระคุณพระเจ้า

อีกหลายปีต่อมา สุภาพสตรีท่านนั้นเกิดป่วยหนักเกินกำลังที่แพทย์ในเมืองเล็กๆ ที่อาศัยอยู่จะรักษาได้ เธอจึงถูกส่งต่อไปรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเมืองใหญ่          คุณหมอโฮเวิร์ด เคลลี่ถูกตามไปให้การรักษา พอได้รับรายงานว่ามีคนไข้ส่งมาจากเมืองที่ตนเคยอยู่ คุณหมอก็รีบไปดูคนไข้และทันทีที่พบ คุณหมอก็จำเธอได้ เพราะใบหน้าที่งดงามอ่อนโยนของสุภาพสตรีน้อยในอดีต ไม่เคยเลือนไปจากความทรงจำ          จากการทุ่มเท ดูแลรักษาอย่างเต็มที่ของคุณหมอเคลลี่ ในที่สุด สุภาพสตรีท่านนั้นก็หายป่วยพร้อมจะกลับบ้าน คุณหมอเคลลี่ขอให้เจ้าหน้าที่การเงินส่งใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยมาที่ตน หลังจากเขียนข้อความหนึ่งไว้ที่มุมใบแจ้งค่าบริการแล้วก็ให้นำไปให้คนไข้สุภาพสตรีซี่งกำลังรอรับการแจ้งค่าบรการด้วยความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย          แต่เมื่อเปิดซองและได้พบข้อความที่คุณหมอเคลลี่เขียนไว้ สายตาเธอก็พร่าด้วยน้ำตาแห่งความปิติที่เอ่อล้นออกมา ด้วยข้อความนั้นเขียนว่า “ชำระค่ารักษาเรียบร้อยแล้ว ด้วยนมหนึ่งแก้ว”          เกิดอะไรขึ้น ทำให้น้ำตาแห่งความปิติมาแทนที่ความกังวลใจเรื่องค่ารักษาพยาบาล อะไรทำให้เพียงนมหนึ่งแก้วในวันนั้น ออกผลที่งดงามยิ่งต่อมา อยากให้สังคมน่าอยู่อย่างนี้ อยากให้องค์กรมีความสุขอย่างนี้ จะทำอย่างไร จะเริ่มอย่างไรดี จิตวิทยาเชิงบวกมองว่า การเสียสละ (Altruism) เกิดจากจิตใจที่รักและเห็นคุณค่ากันและกัน เป็นการเข้าถึงความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ว่าไม่ใช่อยู่เพื่อตัวเองแต่อยู่เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม อันเป็นจริยธรรมที่จะช่วยรดน้ำให้สังคมน่าอยู่ ก้าวไปสู่สังคมที่อยู่ดีมีสุข (Well-being) ร่วมกัน พ่อแม่ผู้ปกครองจะปลูกฝังจริยธรรมดีๆอย่างนี้ได้อย่างไร ท่านสามารถทำได้โดยอาศัยทักษะสนทนาเชิงจริยธรรมกับบุตรหลานของท่านได้

อีกหลายปีต่อมา สุภาพสตรีท่านนั้นเกิดป่วยหนักเกินกำลังที่แพทย์ในเมืองเล็กๆ ที่อาศัยอยู่จะรักษาได้ เธอจึงถูกส่งต่อไปรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในเมืองใหญ่          คุณหมอโฮเวิร์ด เคลลี่ถูกตามไปให้การรักษา พอได้รับรายงานว่ามีคนไข้ส่งมาจากเมืองที่ตนเคยอยู่ คุณหมอก็รีบไปดูคนไข้และทันทีที่พบ คุณหมอก็จำเธอได้ เพราะใบหน้าที่งดงามอ่อนโยนของสุภาพสตรีน้อยในอดีต ไม่เคยเลือนไปจากความทรงจำ          จากการทุ่มเท ดูแลรักษาอย่างเต็มที่ของคุณหมอเคลลี่ ในที่สุด สุภาพสตรีท่านนั้นก็หายป่วยพร้อมจะกลับบ้าน คุณหมอเคลลี่ขอให้เจ้าหน้าที่การเงินส่งใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลซึ่งเป็นเงินจำนวนไม่น้อยมาที่ตน หลังจากเขียนข้อความหนึ่งไว้ที่มุมใบแจ้งค่าบริการแล้วก็ให้นำไปให้คนไข้สุภาพสตรีซี่งกำลังรอรับการแจ้งค่าบรการด้วยความกังวลเรื่องค่าใช้จ่าย          แต่เมื่อเปิดซองและได้พบข้อความที่คุณหมอเคลลี่เขียนไว้ สายตาเธอก็พร่าด้วยน้ำตาแห่งความปิติที่เอ่อล้นออกมา ด้วยข้อความนั้นเขียนว่า “ชำระค่ารักษาเรียบร้อยแล้ว ด้วยนมหนึ่งแก้ว”          เกิดอะไรขึ้น ทำให้น้ำตาแห่งความปิติมาแทนที่ความกังวลใจเรื่องค่ารักษาพยาบาล อะไรทำให้เพียงนมหนึ่งแก้วในวันนั้น ออกผลที่งดงามยิ่งต่อมา อยากให้สังคมน่าอยู่อย่างนี้ อยากให้องค์กรมีความสุขอย่างนี้ จะทำอย่างไร จะเริ่มอย่างไรดี จิตวิทยาเชิงบวกมองว่า การเสียสละ (Altruism) เกิดจากจิตใจที่รักและเห็นคุณค่ากันและกัน เป็นการเข้าถึงความหมายและคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ ว่าไม่ใช่อยู่เพื่อตัวเองแต่อยู่เพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวม อันเป็นจริยธรรมที่จะช่วยรดน้ำให้สังคมน่าอยู่ ก้าวไปสู่สังคมที่อยู่ดีมีสุข (Well-being) ร่วมกัน พ่อแม่ผู้ปกครองจะปลูกฝังจริยธรรมดีๆอย่างนี้ได้อย่างไร ท่านสามารถทำได้โดยอาศัยทักษะสนทนาเชิงจริยธรรมกับบุตรหลานของท่านได้

ทักษะสนทนาเชิงจริยธรรม (Ethics talk)
(กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)
ทักษะนี้เป็นการพูดคุยและตั้งคำถามเพื่อให้ลูกหรือทีมงานได้เรียนรู้และพัฒนาการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม (Moral reasoning) ไปสู่ขั้นสูงขึ้นตามวัย (ดังโมเดลฯ) ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้

1. เสนอสถานการณ์ ที่ขัดแย้งหรือมีปัญหาเกิดขึ้นทางจริยธรรมซึ่งอาจได้จากสื่อวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เหตุการณ์ที่เจอ หรือเรื่องที่กำหนดขึ้น โดยเริ่มต้นว่า “พ่อได้ยินเรื่องนี้ ลูกคิดอย่างไรกับเรื่องนี้…” สำหรับวัย 7 ขวบหรือน้อยกว่าอาจใช้ภาพประกอบ ยกตัวอย่างเรื่อง บอยกับกระเป๋าสตางค์ “ บอย กำลังเดินไปร้านขายของ และวันเสาร์นี้ก็เป็นวันเกิดของแม่ เขารู้สึกแย่ที่ไม่สามารถเก็บเงินพอที่จะซื้อของให้แม่ได้อย่างที่ตั้งใจไว้ บังเอิญเขาเจอกระเป๋าสตางค์พร้อมเงิน 100 บาทหล่นอยู่บนทางเท้า มันช่างเหมาะเจาะกับที่ต้องการเงินไปซื้อของให้แม่อยู่พอดี แต่ในกระเป๋าก็มีบัตรประชาชนพร้อมชื่อและที่อยู่ของเจ้าของกระเป๋า บอยควรทำอย่างไร เพราะเหตุใด”
2. ถามให้เด็กคิดและตัดสินใจ เพื่อค้นหาถึงเหตุผลที่เขาคิดและตัดสินใจเช่นนั้น และให้ฉุกคิดถึงจริยธรรมขั้นสูงกว่า เช่น • บอยควรจะคืนกระเป๋าสตางค์หรือไม่ เพราะเหตุใด ท่านคิดว่ามีเหตุผลอื่นอีกหรือไม่ • ถ้าลูกจะเก็บเงินนั้นไว้ จะถือเป็นสิ่งผิดหรือไม่ เพราะเหตุใด • หากเจ้าของกระเป๋าก็รวยอยู่แล้ว แต่ลูกยังขาดเงินที่จะซื้อของให้แม่ จะเก็บไว้ใช้เองจะเป็นอะไรหรือไม่ • แทนที่เจ้าของกระเป๋าจะให้รางวัลแก่ผู้นำส่งคืนบ้าง แต่กลับไม่ให้ ลูกจะยังคืนกระเป๋าหรือไม่
3. แบ่งปันเหตผลเชิงจริยธรรมขั้นสูง โดยถามว่า ลูกอยากทราบมั้ยว่าพ่อคิดอย่างไร แล้วเราก็พูดอธิบายเหตุผลเชิงจริยธรรมในขั้นที่สูงขึ้น (ดังโมเดลฯ) ให้แก่ลูกพร้อมยกตัวอย่างเหตุการณ์จริงที่เราประสบ
4. ให้พิจาณาและเลือกอีกครั้ง เพื่อให้ลูกได้ไตร่ตรอง และทบทวนเหตุผลเชิงจริยธรรมขั้นสูงขึ้นด้วยตนเองอีกครั้ง โดยถามว่า หากลูกเจอเหตุการณ์แบบบอย ลูกจะทำอย่างไร

“ความเที่ยงธรรม คือวิถีที่ดีทุกสาย”

วันนี้ ท่านจะใช้สถานการณ์ใดในสังคมเพื่อพัฒนาจริยธรรมแก่ลูกหรือทีมงานบ้าง

บริษัท ฮาว อาร์ ยู จำกัด
17/164 หมู่ 11 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel / Fax : 02-942-2420
Email : training@howareyou.co.th

 

468 ad