เด็กดื้อ…เพราะลูกหรือเพราะฉัน ?

Posted in Parents Skill

Facebook Twitter Email

เด็กดื้อ…เพราะลูกหรือเพราะฉัน ?
เวลาท่านตักเตือนว่ากล่าวลูก ท่านอยากให้เขาเป็นอย่างไร ระหว่าง ฟังเพื่อแก้ตัว กับ ฟังเพื่อแก้ไข
 คมคิด: ทุกคนมีเหตุผลเสมอ บ้างก็เหตุผลที่ดูดี บ้างก็เหตุผลที่แท้จริง
“นานมาแล้ว มีคนถามขงจื้อว่า “ชาย 4 คนนั้น มีอะไรที่ดีกว่าท่าน แล้วทำไมพวกเขาจึงยอมเป็นศิษย์รับใช้ท่าน?”
“ “เขามีดีอย่างไร” ขงจื้อถาม
“ แล้วผู้ถามก็ตอบว่า “ชายคนที่ 1 พูดเก่งกว่าท่าน, คนที่ 2 มีเมตตากว่าท่าน, คนที่ 3 ท่าทางสง่ากว่าท่าน, คนที่4 กล้าหาญกว่าท่าน”
“ เมื่อขงจื้อได้ฟังเช่นนั้น จึงกล่าวตอบว่า “เหตุที่ชายทั้ง 4 คนยอมเป็นศิษย์รับใช้ข้าพเจ้าก็เพราะคนที่ 1 พูดเก่งก็จริง แต่ไม่รู้จักสำรวมปาก, คนที่ 2 เมตตาก็จริง แต่บางครั้งก็ช่วยเหลือคนจนไม่ลืมไปว่าต้องสอนให้เขาช่วยเหลือตนเองจึงจะยั่งยืน, คนที่ 3 สง่างามก็จริง แต่หลายครั้งเขาก็โอ้อวดตนและไม่ถ่อมตัว, คนที่ 4 กล้าก็จริง จนบางครั้งกลายเป็นกล้าบ้าบิ่นไป สิ่งที่เขาขาดมีอยู่ในข้าพเจ้า เขาจึงมอบตัวเป็นศิษย์รับใช้ข้าพเจ้า”
“ ชาย 4 คนแม้มีสิ่งที่ดีๆ แต่เขากลับเปิดใจเรียนรู้ว่าอะไรที่ยังขาดอยู่ ไม่เย่อหยิ่ง ท่านคิดว่าเขาจะก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้มากยิ่งขึ้นหรือไม่? อะไรทำให้บางคนกลับไม่ฟังคำตักเตือนว่ากล่าวทั้งๆที่เป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขา ลูกของท่านมีอาการดังกล่าวหรือไม่ แล้วตัวท่านล่ะมีอาการดังกล่าวบ้างหรือเปล่า มาเริ่มที่ตัวเราก่อนดีมั้ยครับ เพื่อเป็นแบบอย่างให้ลูกหลานสืบไป

“การเปิดใจเรียนรู้ (Open-mindedness) เป็นกุญแจไขการทำงานของสมองซีกขวา ที่เกี่ยวข้องกับความคิดสร้างสรรค์ การมีจินตนาการ ศิลปะ เกิดจากพื้นฐานของความอยากรู้อยากเห็นและความถ่อมใจ ส่งผลทำให้บุคคลนั้นประสบความสำเร็จในการเรียน การทำงานและชีวิต

ครั้งล่าสุดเมื่อมีคำวิพากษ์แนะนำมาถึงท่าน ท่านตอบสนองอย่างไร (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)
กรุณา ? หน้าข้อที่ตรงกับตัวท่าน

1. ฉันมั่นใจในความคิดของตน จนมองไม่เห็นคุณค่าจากข้อเสนอแนะของผู้อื่น
2. ฉันคิดว่าข้อมูลใหม่ๆ ก็ไม่ได้ช่วยอะไรได้มากนัก ไม่ต่างจากสิ่งที่ฉันได้เสนอไป
3. เมื่อมีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวฉัน ฉันจะรู้สึกหงุดหงิดไม่พอใจขึ้นมาทันทีและมองลบกับคนที่พูดนั้น
4. เมื่อเปิดรับฟังความคิดเห็นจากคนอื่น ฉันใช้เวลากล่าวปกป้องตนเองมากกว่าจะไตร่ตรองเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขตนเอง
5. ฉันมองคนที่วิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นฝ่ายต่รงข้าม จนละเลยข้อคิดเห็นดีๆที่เขานำเสนอ
6. ฉันเชื่อว่าคนที่วิพากษ์วิจารณ์ เขาคงมีข้อเสนอแนะที่ฉันอาจมองข้ามไป
7. ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ ฉันควบคุมอารมณ์ตนเองได้และไม่ใช้คำพูดหยาบคาย
8. ฉันมองเห็นความปรารถนาดีของคนที่วิพากษ์วิจารณ์ และกล่าวขอบคุณเขาที่แนะนำ

แปลผล:

ข้อที่ ข้อเสนอแนะ
1-5 หากท่านมีข้อใด ก็ให้รีบปรับปรุงข้อนั้น  โดยลดความเย่อหยิ่งลงและฟังคนใกล้ชิดแนะนำให้มากขึ้น
6-8 หากท่านขาดข้อใด ก็ให้พัฒนาข้อนั้น โดยเพิ่มความถ่อมตนขึ้นและนำคำตักเตือนมาไตร่ตรองมากขึ้น

 

“ความเย่อหยิ่งของคนนำเขาให้ต่ำลง แต่คนที่มีใจถ่อมย่อมได้รับเกียรติ”

คำวิพากษ์แนะนำครั้งล่าสุด มีอะไรที่เป็นประโยชน์แก่ท่านบ้าง?

บริษัท ฮาว อาร์ ยู จำกัด
17/164 หมู่ 11 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel / Fax : 02-942-2420
Email : training@howareyou.co.th

 

468 ad