การให้อภัย…พลังอหิงสาที่ถูกลืม !!!

Posted in Management

Facebook Twitter Email

การให้อภัย…พลังอหิงสาที่ถูกลืม !!! 

เมื่อคนในบ้านทะเลาะกัน อะไรจะช่วยให้บ้านสงบได้ก่อนกัน ระหว่าง ความถูกต้อง กับ ความรัก

คมคิด: ความรักย่อมลบล้างความผิดมากมายได้ 

เมื่อคานธีชักชวนให้ประชาชนต่อต้านอ้งกฤษที่ตักตวงทรัพยากรอินเดียจนตกต่ำ เขาระดมคนทั้งประเทศ ชาวอินเดียกว่า 2000 คนมารวมตัวกันในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองอัมริตสา นายพลของอังกฤษจึงส่งกองกำลังทหารเข้าไปกราดยิงผู้ชุมนุม ภายในเวลา 10 นาที มีคนตาย 379 คนและบาดเจ็บอีกมากกว่า 5,000 คน อย่างไรก็ตาม คานธีได้แปรความรู้สึกโกรธแค้นจากเหตุการณ์สังหารหมู่ให้กลายเป็นความรักสามัคคีในหมู่ชาวอินเดีย
คานธีพลิกวิกฤติเป็นโอกาสได้อย่างไร เขาแปรอารมณ์ของสังคมจากโกรธแค้น กลายเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวได้อย่างไรจะดีมั้ยหากเราพลิกสถานการณ์ที่ก้าวร้าวรุนแรงของบ้านเมือง มาสู่การใช้พลังเพื่อปฏิรูปประเทศชาติด้วยคนทุกหมู่เหล่า คานธีใช้หลักของอหิงสาช่วยชาวอินเดียได้อย่างไร เรามาเรียนรู้ด้วยกัน

อหิงสาเป็นแนวทางที่ไม่เบียดเบียนกัน โดยเริ่มต้นจากใจภายในแต่ละบุคคลที่กอปรไปด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ความรัก ความอดทน ความกล้าหาญ ความบริสุทธิ์และความซื่อสัตย์ โดยคานธีให้คุณค่าความรักเป็นความสำคัญอันดับหนึ่ง โดยกล่าวไว้ว่า “ความรักเป็นพลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกรู้จัก”

จิตวิทยาเชิงบวกมองว่า ความรักเป็นจุดแข็งของการควบคุมอารมณ์ (Strength of temperance) ซึ่งจะช่วยให้บุคคล รู้จักบังคับตนไม่โกรธง่าย (Self regulation), รู้จักให้อภัย (Forgiveness), มีใจถ่อมสุภาพ (Modesty/Humility) และเป็นคนรอบคอบมีวิจารณญาณ (Prudence)

เพราะว่าเราคนไทยทุกคนไม่ได้ปรารถนาให้มีใครต้องบาดเจ็บล้มตายอีกต่อไป ดังนั้นเรามาใช้พลังแห่งความรักที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเอาชนะพลังก้าวร้าวรุนแรงกันดีมั้ย โดยเริ่มจากตัวเราก่อน วันนี้ท่านมีใจไม่ถือโกรธและให้อภัยมากน้อยเพียงใด ท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ ลองใช้แบบสำรวจถัดไปนี้ด้วยกัน

แบบสำรวจการให้อภัย (Forgiveness test)
หลับตานึกถึงข้อผิดพลาดหรือเรื่องร้ายๆ ที่เกิดขึ้นกับท่าน ท่านพบตัวเองเป็นอย่างไร ?

  1. ต่อคนที่กระทำผิด
    a) ฉันคิดแต่จะลงโทษคนที่ทำผิด โดยไม่เปิดโอกาสให้เขาได้แก้ไข กลับใจ
    b) แม้บางคนจะทำผิดทำพลาด ทำให้ฉันผิดหวัง แต่ฉันก็ยังคงเห็นสิ่งดีๆในตัวเขาได้อยู่
  2. ต่อตัวเองที่กระทำผิด
    a) ฉันมักกล่าวทับถมตนเองว่าไม่ได้เรื่องในเหตุการณ์แย่ๆที่เกิดขึ้น
    b) แม้ฉันจะรู้สึกแย่กับเรื่องที่ฉันทำผิดพลาด แต่เมื่อเวลาผ่านไปฉันก็เริ่มเข้าใจและไม่ปรักปรำตนเองจนเกินไป
  3. ต่อคนที่ทำร้ายจิตใจฉัน
    a) ฉันจ้องจะจัดการอย่างสาสมกับคนที่มาทำร้ายจิตใจฉัน
    b) เมื่อบางคนทำร้ายจิตใจฉัน ฉันสามารถมองข้ามและใช้ชีวิตที่มีความสุขต่อไปได้
  4. ต่อสถานการณ์ที่นอกเหนือการควบคุม
    a) เป็นการยากมาก ที่ฉันจะยอมรับเหตุการณ์ร้ายๆ ที่เกิดขึ้นว่าเป็นเรื่องสุดวิสัย ไม่มีใครเจตนาให้เกิดขึ้น
    b) กับเรื่องร้ายๆที่ไม่มีใครควบคุมได้ ฉันสามารถปล่อยวาง ไม่ยึดติดและอยู่กับมันได้
  5. ต่อการทำผิดที่ไม่ได้ตั้งใจ
    a) เมื่อมีใครทำผิดต่อฉัน แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งใจ ฉันจะคิดลบกับคนนั้นไปเลย
    b) เมื่อผ่านเหตุการณ์ชีวิตมากขึ้น ฉันมองผู้อื่นที่ทำผิดพลาดอย่างเข้าใจเขามากขึ้น
  6. ต่อการสรุปอ้างอิงเหตุการณ์
    a) หากมีบางสถานการณ์ที่ทำให้ฉันต้องผิดหวัง ฉันจะมองลบกับเรื่องอื่นที่คล้ายๆกันไปเลย
    b) เมื่อมาถึงวันนี้ ฉันสามารถมองเหตุการณ์ร้ายๆ แต่ละเรื่องที่เกิดขึ้นว่ามีสิ่งดีบางอย่างแฝงอยู่นะ
    Source: Adapted from C.R.Synder & Shane J. Lopez. (2007:293-294).Positive Psychology:
    The Scientific and Practical Explorations of Human Strengths. California: Sage Publications Inc.

แปลผล:

  • ถ้าส่วนใหญ่ตอบข้อ ก) ท่านมีใจที่ให้อภัยอยู่ไม่มากนัก ให้พัฒนาในข้อที่เลือก ก) โดยปรึกษาผู้ใหญ่
  • ถ้าส่วนใหญ่ตอบข้อ ข) ท่านมีใจที่ให้อภัยอยู่ค่อนข้างมาก ให้รักษามาตรฐานไว้ และหากมีข้อที่เลือก ก) ท่านจะปรับเปลี่ยนอย่างไรดี

ท่านใดสนใจฝึกฝนสมอง 2 ซีก, คิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ คิดออกได้ในทุกสถานการณ์ ขอเชิญร่วมกันค้นหาคำตอบได้ใน หลักสูตรต่างๆ ได้แก่ เพิ่มผลผลิตอย่างเหนือชั้น…ด้วยพลังคิดนอกกรอบ Creative Thinker Map, กรุณาติดต่อ คุณอมร ลือพร้อมชัย T. 089-158-7296;  email: amorn@howareyou.co.th

กับคำกล่าวที่ว่า
อย่าให้ความชั่วชนะเราได้
แต่จงชนะความชั่วด้วยความดี ” 
ท่านคิดอย่างไร?

 

 

บริษัท ฮาว อาร์ ยู จำกัด
17/164 หมู่ 11 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel / Fax : 02-942-2420
Email : training@howareyou.co.th

468 ad