ฉลาดล้มไปข้างหน้าด้วย RQ

Posted in Management, Skill Lesson, Special Contents

Facebook Twitter Email

(โดย ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์. 22 Apr 2014)

ความขมในใจของคนเหมือนน้ำลึก แต่คนที่มีความเข้าใจจะสามารถโพงมันออกมาได้ (Adapted from Proverbs 20:5, 2012)

ที่แอฟริกาใต้ คานธีประสบเหตุการณ์ที่สร้างความสะเทือนใจอย่างรุนแรง ที่นั่นเขาไม่รู้ว่ามีการเลือกปฏิบัติต่อชาวอินเดียในแอฟริกาใต้ซึ่งเป็นอาณานิคม
เขาจองที่นั่งชั้นหนึ่งบนรถไฟไปยัง “เพล์โทเนีย” ผู้โดยสารผิวขาวเห็นคานธีก็ไปต่อว่าพนักงานและบอกให้เขาย้ายไปนั่งชั้นสาม แต่คานธีไม่ยอม พอถึงสถานีแรกที่รถไฟจอด เขาก็ถูกผู้คุมโยนออกจากรถไฟ
ความอับอายครั้งนั้นถือเป็นสิ่งจุดประกายให้เขาเปลี่ยนแปลง เขาใช้เวลาทั้งคืนนั่งอยู่ที่ชานชลาคิดว่าทำอย่างไรจึงจะได้ความยุติธรรม
สัปดาห์ต่อมาเขาจัดประชุมผู้อพยพชาวอินเดียขึ้น ความคิดอ่านของคานธีเติบโตเกินตัว เขาตั้งใจอยู่ที่นี่และต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวอินเดียรวมไปถึงสิทธิของคนผิวดำทุกคน และนั่นคือจุดเริ่มต้นของมหาตมะ คานธี

อะไรเกิดขึ้นในความนึกคิดของคานธีในคืนนั้นที่ชานชลา? ใช่แล้วครับ…การพลิกวิกฤติด้วยการคิดบวก ซึ่งจิตวิทยาเชิงบวกเรียกว่าพลังความหยุ่นตัว (RQ: Resilience quotient) เป็นความสามารถในการฟื้นตัว (Bouncing back) หลังเผชิญวิกฤติจากสภาพเสียหายกลับสู่สภาพดี ตลอดจนพร้อมรับมือต่อภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต เป็นความสามารถในการรับมือกับภาวะตึงเครียดและปรับตัวเชิงบวกต่อสถานการณ์ที่ไม่เป็นไปตามแผน

ครั้งหนึ่งผมไปบรรยายให้กับผู้บริหารระดับสูงของศาลปกครอง ในประเด็น “CEO กับพลังคิดบวก” ผมยกกรณีตัวอย่างของSteve Jobs ที่พลิก 3 เหตุการณ์วิกฤติในชีวิตด้วยพลังคิดบวก ได้แก่ เหตุการณ์เมื่อไม่จบมหาวิทยาลัย, เมื่อถูกไล่ออกจากงาน, เมื่อมะเร็งร้ายคุกคาม แล้วฝึกปฏิบัติการคิดบวกระดับลึกผ่านดนตรีบำบัด (Music therapy) สไตล์ 3 S เพื่อฟัง Inner voice ทำให้หลายท่านคิดออกเลยว่าจะพลิกวิกฤติที่ตนกำลังเผชิญอยู่ได้อย่างไร

เพื่อเพิ่ม “พลังความหยุ่นตัว” (RQ: Resilience quotient) วันนี้ผมขอเสนอชุดคำถาม 12 ข้อลองฝึกฝนไปพร้อมกันในทักษะถอดบทเรียน ต่อไปนี้ครับ

ทักษะถอดบทเรียน (Lesson learning) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ http://HowAreYou.co.th)
ช่วงที่ผ่านมา ท่านพบประสบการณ์ใดที่จำได้ไม่ลืม และต้องการเรียนรู้? ให้นำเรื่องดังกล่าวมาทบทวนเชิงบวกด้วยการพูดหรือเขียน ผ่านการตอบคำถามต่อไปนี้…

1. เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นอย่างไร, ทำให้ฉันรู้สึกอย่างไร
2. สิ่งที่ฉันทำลงไป มันช่วยอย่างไร, อะไรที่ฉันรู้สึกว่าไม่ได้ช่วยอะไรเท่าไรนัก
3. อะไรทำให้ฉันตัดสินใจไปเช่นนั้น
4. เพื่อรับมือกับเรื่องนี้ได้เหมาะสมยิ่งขึ้น หากย้อนเวลากลับไปได้ ฉันจะทำบางสิ่งที่ต่างออกไป สิ่งนั้นได้แก่…
5. จากที่ผ่านมา มีอะไรบ้างที่ฉันควรเอาใจใส่ให้มากยิ่งขึ้น?
6. ถ้าเปลี่ยนได้อยากให้เป็นอย่างไร?, แล้วจะเริ่มอย่างไรดี?,
7. เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นซ้ำได้ ฉันควรทำอย่างไร?

เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ ปลุกยักษ์ให้ตื่น…ด้วยพลังคิดบวก (Positive thinking), ถอดรหัส 7 Habits…สู่ทีมขีดสมรรถนะสูง, อารมณ์ดีอย่างอัจฉริยะ…ด้วยพลังสมอง 2 ซีก และท่านสามารถดูตัวอย่าง Workshop ที่ https://www.youtube.com/user/yparanan/videos, สนใจกรุณาติดต่อผมผ่าน e-mail ที่ Yparanan@Gmail.com หรือฝากข้อความผ่าน facebook ที่ www.facebook.com/yparanan

————

ข้อมูลอ้างอิง

Proverbs 20:5; 4:23 (2012). Biblica. Retrieved Feb 24,2012. From http://www.biblica.com/bible/browse-books/

468 ad