ถอดรหัส 3F…ทักษะหัวหน้างานแห่งศตวรรษที่ 21

Posted in Management, Skill Lesson, Special Contents

Facebook Twitter Email

(โดย ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์. 1 May 2014)

จงเชื่อในสิ่งที่มี แล้วท่านจะมีในสิ่งที่เชื่อ

อยู่มาวันหนึ่ง สมชายพนักงานที่เข้าใหม่ มีความคิดอิสระสร้างสรรค์ดีแต่เกิดโต้เถียงกับลูกค้าและเชื่อว่า ตนเองไม่ผิด เป็นลูกค้าที่ทำผิดพลาดเอง และสมชายรู้สึกว่ากฏอย่างนี้ ไม่น่าจะถูกต้อง ก็อยากจะไปเรียนผู้บริหาร ให้แก้ไขเสีย เพราะมันหลายครั้งแล้ว จนทนไม่ไหว จึงขอเข้าพบผู้บริหาร

ระหว่างที่กำลังรออยู่หน้าห้องผู้บริหาร สมชายพลันสายตาก็เหลือบไปเห็น ป้ายติดอยู่หน้าห้องผู้บริหาร เขียนว่า ” กฎของบริษัท”
1) ผู้บริหารย่อมถูกเสมอ
2) ถ้าสงสัย ให้ไปดูกฏข้อที่ 1

สมชายก็เลย “!?!”

หากท่านเป็นสมชายจะยังอยากเข้าพบผู้บริหารอยู่มั้ยครับ?…(ฮา)…ท่านผู้อ่านครับ…บางครั้งการที่พนักงานขาดขวัญกำลังใจก็อาจเกิดขึ้นจากบรรยากาศการทำงานที่ยึดกฎ ระเบียบอย่างเข้มงวด จนมองข้ามความรู้สึกความต้องการของผู้ปฏิบัติงานไปนะครับ

ขณะผมบรรยายหัวข้อ “สู่ความเป็นเลิศ…ด้วยพลังทีมคิดบวก (Positive thinking)” ให้กับองค์กรเอกชนชื่อดังแห่งหนึ่ง ผมเปิดโอกาสให้ทุกคนได้ทำแบบสำรวจสุดยอดค่านิยมแห่งประสิทธิผล 9 ประการ เพื่อสร้างองค์กรแห่งความสุขพบว่า มีหลายคนเห็นตรงกันเรื่อง การเปิดโอกาสให้สามารถคิดตัดสินใจได้ด้วยตนเอง ผมจึงให้ข้อคิดแก่ผู้บริหารว่า “กระบวนทัศน์ใหม่ของหัวหน้างานแห่งศต.ที่ 21 เปลี่ยนจาก Commander ได้แก่ สั่งการ, เน้นเชื่อฟัง, ทำตามหน้าที่, ควบคุมงาน มาสู่ Facilitator ได้แก่ เอื้ออำนาจ, สร้างจิตอาสา, โค้ชสอนงาน, สร้างแรงบันดาลใจ” จะเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจแก่ทีมงานได้อย่างดียิ่ง

เพื่อเสริมสร้างขวัญกำลังใจให้ทีมงานยิ่งขึ้นตลอดจนสมาชิกครอบครัว วันนี้ผมขอเสนอทักษะให้กำลังใจ ลองใช้ดูครับ

ทักษะให้กำลังใจ (Encouragement)
เป็นการช่วยผู้รับคำปรึกษาค้นหายักษ์ หรือศักยภาพ สิ่งดีๆ ที่มีใน SOS (Self, Others, Social) เพื่อนำมาเสริมพลังตนเองในการเผชิญปัญหาได้อย่างมั่นใจ อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นย่อว่า 3F ดังนี้
1. Feeling reflection สะท้อนความรู้สึก
• พูดคุยต่อกันว่า… รู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น, เกิดอะไรขึ้น, ดูเหมือนเธอมีเรื่องในใจ, เธอรู้สึกเสียใจ, รู้สึกอึดอัด, รู้สึกเป็นห่วง, รู้สึกผิดหวัง, รู้สึก…
• อาจใช้เก้าอี้ว่าง (Empty chair) โดยสมมติว่าคู่กรณีนั่งเก้าอี้ที่ว่างนั้น แล้วพูดออกมา จะช่วยระบายอารมณ์และเพิ่มตระหนักรู้ทางอารมณ์ความรู้สึกของตนเอง
2. Finding ค้นหาสิ่งดีใน SOS (Self ตัวเอง, Others ผู้อื่น, Social ครอบครัว ที่ทำงาน เครือข่ายทางสังคม)
• พูดคุยต่อกันว่า…อะไรทำให้เธอยังยืนหยัดอยู่ได้ แม้เจอเรื่องหนักๆอย่างนี้; ดีจริงๆ สิ่งนี้เธอได้มาอย่างไร; หากเทียบสิ่งดีนี้กับปัญหาที่เจอ เธอว่าใครจะอยู่คงทนกว่า (อย่างไหนคือของแท้)
• อาจเล่าเรื่องเร้าพลัง (Story telling) ที่คล้ายๆแลกเปลี่ยนกัน เพื่อกระตุกคิดเชื่อมโยงสิ่งดีๆ ในตัวเองโดยเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้อื่น
3. Firming ทำให้มั่นใจ
• พูดคุยต่อกันว่า…ฉันประทับใจใน…ของเธอมาก; ฉันเชื่อว่าโดย…ที่เธอมีจะทำให้เอาชนะเรื่องนี้ได้ (ยิ้มรับ, ผงกศีรษะ, แตะไหล่, กล่าวชื่นชม)
• ให้พูดบอกความตั้งใจ (Self talk) โดยนึกถึงสถานการณ์ที่หนักหรือแย่ที่สุด และตัดสินใจ “อึด ฮึด สู้” ไม่ยอมแพ้แล้วพูดออกมา เพื่อพร้อมรับมือกับทุกสถานการณ์ได้อย่างเชื่อมั่น

เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ ปลุกยักษ์ให้ตื่น…ด้วยพลังคิดบวก (Positive thinking), สร้างทีมขีดสมรรถนะสูง (High performance team)…ด้วย 7Habits, EQ…หัวใจแห่งพลังทีมสร้างสุข และท่านสามารถดูตัวอย่าง Workshop ที่ https://www.youtube.com/user/yparanan/videos, สนใจกรุณาติดต่อผมผ่าน e-mail ที่ Yparanan@Gmail.com หรือฝากข้อความผ่าน facebook ที่ www.facebook.com/yparanan

————

ข้อมูลอ้างอิง
เรื่องตลก ขำขัน.กฎของบริษัท. Retrieved Mar 5, 2013. from http://www.tourthai.com/joke.php

468 ad