16 อารมณ์ชี้วัดวิกฤต นั้นเป็นไฉน?

Posted in Management, Special Contents

Facebook Twitter Email

(โดย ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์. 8 May 2014)

บุคคลที่ปกครองจิตใจตนเองได้ ก็ดีกว่าผู้ที่ตีเมืองได้ (Adapted from Proverbs 25:28, 2012)

จากนิยาม: ปัญหา = (สิ่งที่คาดหวัง – สิ่งที่เป็นจริง) X ความกังวล นั้นในทางจิตวิทยาให้ความสนใจกับความกังวลภายในค่อนข้างมาก เพราะหากรับมือกับความกังวลภายในไม่ได้ดี ก็ขาดกำลัง ขาดความคิดดีๆ ที่จะไปแก้ไขปัญหา และถ้าหากความคับข้องใจมีมากจนท่วมท้นรับมือไม่ไหว ปัญหานั้นก็จะกลายเป็นวิกฤต ขึ้นมาทันที แม้ดูเหมือนว่าบางปัญหาไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่สำหรับเรา แต่อาจเป็นเรื่องใหญ่มากๆ (ถึงขั้นวิกฤต) กับบางคนก็เป็นได้

ครั้งหนึ่งผมพูดถึง CEOชั้นนำ กับ พลังคิดบวก ผมยกตัวอย่างชีวิตคิดบวกของสตีฟ จ็อบส์ตอนที่ถูกไล่ออกจากบริษัทที่ตนเองเป็นหนึ่งในคณะผู้ก่อตั้ง หากเป็นคนอื่นๆ หลายคนอาจเสียหน้า หมดอนาคตไปเลย แต่สตีฟ จ็อบส์กลับมองว่า การมาเริ่มต้นใหม่ก็ดีนะ ไม่หนัก ไม่ต้องแบกความสำเร็จไว้บนบ่าตลอด ทำให้ทำงานได้อย่างไม่เครียด ผิดพลาดได้เป็นเรื่องปกติ และจะได้ไม่หยิ่งทะนงตัวจนเกินไป อีก 5 ปีต่อมาก็เกิดบริษัท NEXT แล้วก็ Pixar ซึ่งได้สร้างภาพยนตร์การ์ตูนจากคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องแรกของโลกนั่นคือ Toy Story

ดังนั้น เพื่อรับมือกับความรู้สึกกังวลใจได้อย่างเหมาะสม เราควรตรวจสอบว่าเรากำลังรู้สึก “เอาอยู่” กับปัญหาที่เผชิญอยู่หรือไม่ หรือเกิดรู้สึก “เอาไม่อยู่” ขึ้นบ้างแล้ว ก็จะได้รีบหาทางออกโดยด่วนได้ทันการก่อนจะกลายเป็นวิกฤต วันนี้ผมจึงขอเสนอแบบสำรวจอารมณ์ชี้วัดวิกฤต 16 อารมณ์ที่พบบ่อย (Adapted from Russell’s circumplex model.2011)

แบบสำรวจอารมณ์ชี้วัดวิกฤต (Emotion-focused Crisis Check) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)
นึกถึง เหตุการณ์ที่รบกวนใจท่านในช่วงที่ผ่านมา แล้วสังเกตอารมณ์ของท่านต่อเรื่องนั้น ว่าเป็นอย่างไรบ้าง? (กรุณา√หน้าข้อตามจริง)
1. สงบ
2. ตื่นตระหนก
3. ตึงเครียด
4. ผ่อนคลาย
5. ปลอดโปร่ง
6. กดดัน
7. พึงพอใจ
8. หงุดหงิด
9. ดีใจ สบายใจ
10. เสียใจ ทุกข์ใจ
11. ชื่นใจยินดี
12. ซึมเศร้า
13. กระตือรือร้น
14. เบื่อๆ ท้อๆ
15. ตื่นตัว มีพลัง
16. อ่อนเพลีย, เฉยๆ เรื่อยๆ

แปลผลและข้อเสนอแนะ: ข้อคี่มากกว่า แสดงว่า เหตุการณ์นั้น ท่านสามารถรับมือไหว เป็นสิ่งท้าทาย เป็นโอกาสได้พัฒนาตนเอง
ข้อคู่มากกว่า แสดงว่า เหตุการณ์นั้นท่านรับมือไม่ไหว รีบขอการปรึกษาช่วยเหลือ เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ EQ…หัวใจแห่งพลังทีมสร้างสุข, องค์กรสร้างสุข ตอน Leader as a Coach, สร้างทีมขีดสมรรถนะสูง…ด้วย Smart 7Q และท่านสามารถดูตัวอย่าง Workshop ที่ https://www.youtube.com/user/yparanan/videos, สนใจกรุณาติดต่อผมผ่าน e-mail ที่ Yparanan@Gmail.com หรือฝากข้อความผ่าน facebook ที่ www.facebook.com/yparanan

————
ข้อมูลอ้างอิง

Russell’s circumplex model. Retrieved Aug 17, 2011. from http://www.emeraldinsight.com/content_images/fig/0850190301001.png

Proverbs 25:28 (2012). Biblica. Retrieved Feb 24,2012. From http://www.biblica.com/bible/browse-books/

468 ad