คิดต่างอย่างสร้างสรรค์…ด้วย 5 คิด

Posted in Management, Special Contents

Facebook Twitter Email

(โดย ดร. นพ. ยุทธนา ภาระนันท์. 9 May 2014)

ปราชญ์ล้มลงเจ็ดครั้ง เขายังลุกขึ้นอีก แต่คนมักติ จะถูกความคิดลบของเขาจับเป็นเชลย (Adapted from Proverbs 24:16, 2012)

มีโรงเรียนในชนบทแห่งหนึ่ง วันนี้ห้อง ป.3 ทั้งชั้นมีนักเรียน 30 คน มาสายทั้ง 30 คน คุณครูสาวประจำชั้นก็เลยถามเหตุที่มาสายทีละคน
คนแรก ตอบว่าบ้านผมไกล ต้องขี่ควายมาครับ แต่เมื่อวานควายไม่สบาย วันนี้ผมขี่มันมา มันเลยมาตายกลางทางครับ
ผมจึงต้องเดินมาเลยมาสายครับ ปรากฎว่านักเรียนอีกยี่สิบกว่าคนตอบเหมือนคนแรกกันหมดเลย
เหลือแต่ คนสุดท้ายกำลังจะให้คำตอบ ครูสาวประจำชั้นก็เลยพูดขึ้นมาว่า คงไม่ต้องตอบแล้วล่ะ ครูรู้แล้วว่าเธอจะต้องตอบเหมือนกัน
เด็กคนสุดท้ายพูดขึ้นว่า “ป่าวนะครับ ควายผมไม่ตายหรอก แต่ที่ผมมาสายเพราะต้องขี่ควาย หลบซ้ายทีขวาที เพราะศพควายตั้ง 29 ตัวมันขวางทางครับ”

ใน 30 คนท่านคิดว่าครูจะจำคนไหนได้แม่นที่สุดครับ?… ใช่แล้วครับ…คนสุดท้ายเพราะคำตอบที่แตกต่าง เช่นเดียวกันหากเราต้องการให้ลูกค้าจดจำเราได้ เราก็ต้องสร้างความแตกต่าง (Differentiation) ซึ้งเป็นการใช้สมองซีกขวาในการคิดสร้างสรรค์ คิดนอกกรอบ (Creative thinking) นั่นเอง

ขณะผมบรรยายเกี่ยวกับ “ถอดรหัส 7อุปนิสัยแห่งประสิทธิผล กุญแจไขพลังคิดบวก คิดสร้างสรรค์” ให้กับหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ผมเสนอว่าคนที่จะคิดสร้างสรรค์ได้ดีต้องฝึก 5 คิด ได้แก่ คิดริเริ่ม, คิดคล่อง, คิดยืดหยุ่น, คิดเชื่อมโยง และคิดละเอียด โดยเรื่องหลักที่จำเป็นมากๆ คือ คิดยืดหยุ่น (Flexible Thinking) หมายถึง ไม่ใช่ยึดความคิดตนเองเป็นใหญ่ แต่เปิดใจเรียนรู้จากผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่แข่ง ลูกค้า ทีมงาน
แล้วให้ฝึกโดยให้ดูภาพเชิงจิตวิทยา (ภาพเดียวแต่สามารถมองเห็นได้หลายๆรูปหลายๆแบบ) ทำให้ทุกคนตระหนักว่าแม้คิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ก็ไม่มีใครผิด…ก็มีนะครับ เพียงแต่ “ไม่ครบ” ดังนั้นหากเปิดใจรับฟังกันและกัน ก็จะ “ครบ” มากยิ่งขึ้น ก็แก้ปัญหาได้ดียิ่งขึ้น

วันนี้ เรามาสำรวจกันว่า เรามีคุณลักษณะแห่งนักสร้างสรรค์นวัตกรรมกี่มากน้อยด้วยกัน (Adapted from Jack Wood et al. 2010)

แบบสำรวจบุคลิกนักสร้างสรรค์นวัตกรรม (Innovative attitude) (กรุณาศึกษาเพิ่มเติมที่ www.HowAreYou.co.th)
ช่วงที่ผ่านมา บรรยากาศการทำงานของท่าน เป็นอย่างไรบ้าง? (กรุณา√หน้าข้อตามจริง)
1. ฉันสังเกตและสามารถนำสิ่งที่มีอยู่เดิมไปใช้ประโยชน์รูปแบบใหม่ๆ ได้
2. ยามเกิดข้อผิดพลาด ฉันสามารถเรียนรู้ผ่านปัญหา ไม่รู้สึกท้อถอยกับคำวิพากษ์ตำหนิ
3. กับความคิดมุมมองที่ดูเหมือนขัดแย้งกับฉัน ฉันก็ยินดีเปิดใจเรียนรู้เสมอ

แปลผลและข้อเสนอแนะ: ยิ่งมีมาก ยิ่งแสดงว่ามีทัศนคติที่เอื้อต่อการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มาก เพื่อพัฒนาในเรื่องนี้ผมมีหลักสูตรแนะนำ ได้แก่ เพิ่มผลผลิตอย่างเหนือชั้น…ด้วยพลังคิดนอกกรอบ (Creative thinking), สู่ความเป็นเลิศ…ด้วยพลังทีมคิดบวก (Positive thinking), บริหารความเครียดอย่างสร้างสรรค์ (Burnout management) และท่านสามารถดูตัวอย่าง Workshop ที่ https://www.youtube.com/user/yparanan/videos, สนใจกรุณาติดต่อผมผ่าน e-mail ที่ Yparanan@Gmail.com หรือฝากข้อความผ่าน facebook ที่ www.facebook.com/yparanan
————

ข้อมูลอ้างอิง

Jack Wood et al. (2010:551). Organizational behavior.2nd ed. Milton Qld: John Wiley & Sons Australia. Ltd.
Proverbs 24:16, 4:23. Biblica (2009). Retrieved July 20, 2009. from http://www.biblica.com/bible/

468 ad