คิดต่างก็บวกได้ จริงหรือ?

Posted in Management

Facebook Twitter Email

คิดต่างก็บวกได้ จริงหรือ? 

หากสมองซีกขวาของท่าน ทำงานเหมือนกับซีกซ้ายทุกอย่าง จะเกิดอะไรขึ้น?

คมคิด: แตกต่างเพื่อเติมเต็ม

ตัวอย่างท้าสมอง
องค์กรแห่งหนึ่งเกิดการขัดแย้งระหว่างพนักงานฝ่ายซ่อมบำรุงเครื่องกลหนักกับหัวหน้าผู้คุมงาน กล่าวคือ บรรดาพนักงานเข้าใจว่าตัวหัวหน้าผู้คุมจะเลือก “คนงานคนหลักๆ” ให้ทำงานต่อไปและได้ค่าแรงดีๆ ขณะที่คนอื่นๆ ได้แค่ค่ายังชีพเล็กๆน้อยช่วงหยุดงานและต้องคอยเดินตรวจรักษาความปลอดภัยในสภาพอากาศที่หนาวเย็นอีกด้วย
คนงานที่ไม่พอใจเริ่มแสดงอาการกระด้างกระเดื่องต่อหัวหน้าผู้คุมงาน และตั้งแนวทางแสดงออกไว้ว่า “เขาขยับเมื่อไหร่ เราไม่พอใจเมื่อนั้น” โดยไม่เปิดใจที่จะซักถามหรือรับฟังอะไรจากหัวหน้าทั้งสิ้น ส่วนหัวหน้าก็ไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง จึงจับผิดและตอบโต้อย่างไม่ลดราวาศอกเช่นกัน
ผลก็คือ คนงานที่เหลือต้องเลือกข้าง มีการกล่าวโทษ ให้ร้าย ขู่ทำร้ายกันเกิดขึ้นมากมาย จากความไม่พอใจนำไปสู่การปะทะกัน

หากเป็นหัวหน้าท่านจะทำต่างออกไปอย่างไร,
หากเป็นพนักงานท่านจะทำต่างออกไปอย่างไร

ในที่สุดเมื่อมีคนกลางเข้าไปตรวจสอบในรายละเอียดพบว่า หัวหน้าผู้คุมงานไม่ได้มีบทบาทในการเลือก “คนงานหลักๆ” นั้นเลย สำนักงานใหญ่ต่างหากที่กำหนดลงมา ดังนั้นความยุ่งยากทั้งหมดเกิดขึ้นจากการตีความแบบทึกทักเอาเองมากกว่าตามข้อเท็จจริง นอกจากนี้ยังขาดการสื่อสารเชิงบวกแบบเปิดใจฟังกันและกัน

ท่านจะนำบทเรียนจากเรื่องนี้ไปประยุกต์ใช้กับงาน ชีวิตส่วนตัว ครอบครัวและสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้อย่างไร

เพราะปัญญาอาศัยอยู่ในความคิดของคนที่มีความเข้าใจ ดังนั้นท่ามกลางสถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้ หากแต่ละคนเปิดใจรับฟังกันและกัน (Open-mindedness) ผมคิดว่าแม้จะคิดต่างกัน ก็สามารถเติมเต็มกันและกันได้ เหมือนดังสมอง 2 ซีกทำงานต่างกันและก็เสริมกันได้เพราะมีการสื่อสารเชื่อมโยงถึงกันอย่างเหมาะสมพอเพียง ลองใช้ทักษะฟังหูไว้หูช่วยดูซิครับ

ทักษะฟังหูไว้หู (Fact screening skill) 
ทักษะนี้เป็นวิธีคัดกรองข้อมูลที่ได้รับ เพื่อนำมาไตร่ตรองอย่างมีวิจารณญาณเชิงบวกว่า จะคิด จะพูด จะทำเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างไรจึงเหมาะสม ประกอบด้วย 4F ( Adapted from  Herbert J. Taylor. The Four-Way Test . Cited by  Darrell Thompson. (2009) . A Story behind the four way test)ได้แก่

        1 Fact อะไรที่จริง, อะไรที่ตีความ เราควรเลือกพิจารณาในส่วนข้อเท็จจริงก่อน โดยแยกการตีความไว้ต่างหาก
        2 Fair เป็นธรรมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพียงใด เราควรได้ฟังจากทุกฝ่ายที่จำเป็น ไม่ด่วนสรุปไปก่อน
        3 Friendship นำมาซึ่งมิตรไมตรี, ด้วยเจตนาที่ดีหรือไม่ เพียงใด เราควรเข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว เพื่อนำมาซึ่งความปรองดอง มิตรไมตรี โดยไม่กลายเป็นเครื่องมือก่อให้เกิดความร้าวฉาน บานปลาย
        4 Fruitful เกิดประโยชน์สุขต่อภาพรวม แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ เพียงใด เราควรทำอย่างไรเพื่อให้เรื่องดังกล่าวเกิดผลดีต่อทุกฝ่ายมากกว่าผลเสีย 
ทั้ง 4F สามารถสรุปเป็นประโยคคล้องจองจำง่ายๆว่า “เป็นความจริง อิงเที่ยงธรรม นำไมตรี ดีทุกฝ่าย”

ท่านใดสนใจฝึกฝนสมอง 2 ซีก, คิดริเริ่มสิ่งใหม่ๆ คิดออกได้ในทุกสถานการณ์ ขอเชิญร่วมกันค้นหาคำตอบได้ใน หลักสูตร “แผนภูมินักคิด Thinker Map…เครื่องมือพัฒนา 7 ทักษะวิธีคิดเพื่อเพิ่มผลผลิต” ท่านจะได้พบกับแผนภูมินักคิดฉบับ 7 Thinker Map, การคิดเชิงระบบ (Systems thinking) VS แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map), รูปแบบการคิดหลากมิติ และอื่นที่น่าสนใจอีกมากมาย

ดูก่อนพี่น้องทั้งหลาย   ในที่สุดนี้ขอจงใคร่ครวญถึงสิ่งที่จริง   สิ่งที่น่านับถือ   สิ่งที่ยุติธรรม   สิ่งที่บริสุทธิ์   สิ่งที่น่ารัก   สิ่งที่ทรงคุณ   คือถ้ามีสิ่งใดที่ล้ำเลิศ   สิ่งใดที่ควรแก่การสรรเสริญ   ก็ขอจงใคร่ครวญดู

 

 

บริษัท ฮาว อาร์ ยู จำกัด
17/164 หมู่ 11 ถนนสุขาภิบาล 1 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ 10230
Tel / Fax : 02-942-2420
Email : training@howareyou.co.th

468 ad