หลักสูตรบริหารเชิงรุกสู่ความเป็นเลิศ…ด้วยพลัง Proactive Brain (Proactive management)

Posted in News

Facebook Twitter Email

“อย่างไหนจะช่วยให้องค์การอยู่รอดได้มากว่ากัน ระหว่าง technology ดีกับ teamwork ดี?” โจทย์ที่ ดร.นพ.ยุทธนา ภาระนันท์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการให้คำปรึกษาองค์กร บริษัท How are you จำกัด ถามผู้เข้าร่วมฟังสัมมนาในงาน “เปิดกลยุทธ์ฝ่าวิกฤต ด้วยจิตวิทยาเชิงบวก” เมื่อเร็วๆ นี้ “ทีมเวิร์กดี” คำเฉลยจากผู้ร่วมงานและผู้ตั้งคำถามให้ข้อสรุป…อะไรทำให้ “ทีมเวิร์กดี” จึงมีความสำคัญมากกว่า “เทคโนโลยีดี”? คุณหมอ ยุทธนา ไขข้อสงสัยว่า “เนื่องจากคนรู้จักความยืดหยุ่นปรับตัวได้มากกว่าเทคโนโลยี อีกทั้ง หากมีการนำที่ชาญฉลาด คนก็สามารถทำสงครามได้ และหากมีที่ปรึกษามากๆ ก็จะทำให้ประสบชัยชนะได้ ดังนั้น ความอยู่รอดขององค์กรกับคนจึงสัมพันธ์แบบพึ่งพาอาศัยกันและกัน แม้เทคโนโลยีหรือปัจจัยทุนอื่นๆ จะมีส่วนสำคัญไม่น้อยก็ตาม”องค์กรวิกฤต – วิกฤตคน
ดร.นพ.ยุทธนา บอกว่า “คน” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรกลายเป็นวิกฤตหรือโอกาส เนื่องจากปัจจุบันอยู่ในยุคโลกาภิวัฒน์ การเชื่อมต่อข่าวสารที่สูงมากดังนั้นถ้าหากองค์กรนั้นๆได้สร้างการเรียนรู้เพื่อสร้างนวัตกรรม ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ บริการ หรือกระบวนการ ขึ้นมาให้ได้ ก็จะสามารถอยู่รอดได้และกลายเป็นองค์กรชั้นแนวหน้าได้ในที่สุด ซี่งในจุดนี้ต้องอาศัยปัจจัย“คน”
หรือทุนมนุษย์ Human Capital เป็นตัวจักร ขับเคลื่อนสำคัญ

เขาแนะนำว่า หากองค์กรจะสามารถผ่านพ้นวิกฤต และอยู่รอดได้ จำเป็นต้องมีแนวคิดที่เรียกว่า “จิตวิทยาเชิงบวก” ซึ่งในอีกมิติหนี่งเรียกว่า “ทุนทางจิตวิทยา” ซึ่งถือเป็นทุนสำคัญอีกตัวหนึ่ง นอกเหนือจากทุนทางปัญญา ทุนทางโครงสร้าง ทุนทางการเงินและทุนลูกค้า ขณะที่จิตวิทยาเชิงบวก ในมิติ คน หมายถึง คนที่มีความสามารถเชิงบวกและสภาวะจิตใจในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ “ยกตัวอย่าง กรณีประชุม หากผู้นำประชุมเอื้ออำนวยให้มองบวก มองอย่างมีความหวัง และพยายามเอื้อให้เค้าหรือผู้ร่วมประชุมเชื่อว่าสิ่งที่เสนอมาทำได้ ซึ่งมันจะไปเสริมให้การเรียนรู้ขององค์กรเข้มแข็งขึ้นในที่สุดมันก็ไปเสริมให้มีนวัตกรรมได้ไม่ยาก“

ดังนั้น เวลาระดมสมองหรือประชุมจะมีผู้ที่มีองค์ความรู้ต่างๆ หลากหลายเข้ามา ซึ่งถือเป็นทุนทางปัญญาและสร้างบรรยากาศยอมรับซึ่งกันและกัน มองในทางบวกหรือหนุนทางบวก ซึ่งเป็นทุนจิตวิทยา ถ้ามี 2 อย่างนี้ในเวลาระดมสมองหรือเวลาประชุม จะทำให้คิดสิ่งใหม่ๆ ออกมาได้ สิ่งใหม่ๆ ดังกล่าว ก็จะนำมาพัฒนาต่อยอดเป็น “นวัตกรรม” และเชื่อว่าจะทำให้องค์กรนั้นสมรรถนะสูง High Performance Organization หรือเป็นองค์กรที่อยู่รอดได้ “มันอยู่ 1 ใน 5 ขององค์ประกอบองค์ที่มีสมรรถนะสูงว่าด้วยการเรียนรู้ขององค์กร (คน-ทีมเวิร์ก) นั่นเอง”“เมื่อทุนมนุษย์แข็งแรงก็จะมีความคิดสร้างสรรค์ จากนั้นก็ผนึกกับขีดความสามารถในเชิงพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง การตลาดและการขายก็จะออกมาเป็น “นวัตกรรม” ในรูปแบบของสินค้า บริการ หรือกระบวนการก็ได้”

สำหรับ องค์การที่มีสมรรถนะสูง หรือ High Performance Organization ดร.นพ.ยุทธนา บอกว่า จะต้องมีส่วนผสมอย่างโดดเด่นในด้านต่างๆ ได้แก่ หนึ่ง-การเรียนรู้ขององค์กร (Organization Learning) สอง-การบริหารคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management : TQM ) สาม-การเข้ามีส่วนร่วมของพนักงาน (Employee Involvement) สี่-ทีมงานบริหารตนเอง(Self-Managing Team) และห้า-เทคโนโลยีการผลิตแบบประสมประสาน (Integrated Production Technology)

เปิดสูตร รับมือวิกฤต-เปลี่ยนแปลง
บ่อยครั้งที่ธุรกิจ องค์กร ต้องเผชิญกับวิกฤต ซึ่งส่งผล 2 ด้านมีทั้ง “โอกาสและอันตราย” ซึ่งหากต้องการรับมือกับวิกฤต หรือการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้อย่างดีนั้น ดร.นพ.ยุทธนา แนะนำว่า หากใช้หลัก จิตวิทยาเชิงบวก หรือ “ทางทางจิตวิทยา” จำเป็นอาศัยแกนหลักเด่นๆ ได้แก่ 1.Leadership & Management Style (Mission, Value, Goals, Strategies) ภาวะผู้นำและรูปแบบการบริหารจัดการ 2.Learning การเรียนรู้ 3. Competency ขีดความสามารถในการทำงาน 4. Result ผลเป้าหมาย และ 5. Internal process กระบวนการภายในในบริหารจัดการ เป็นแกนขับเคลื่อน

“กรณี บริษัทหนึ่งทำธุรกิจซื้อขายรถยนต์มือสอง ซึ่งชอบเรียนรู้ อึกทั้งมีคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ตลอด จึงคิดหาหนทางทำให้ลูกค้าพอใจและกลับมาซื้อสินค้าซื้อหรือบอกต่อ ซึ่งเป็นการคำนึงถึงความพึงพอใจลูกค้า Result Customer Satisfaction โดยการคุยเก็บข้อมูลถึงความต้องการใหม่ๆ บริการใหม่แล้ว กำหนดออกมาเป็นนโยบายใหม่ โดยประเมินขีดความสามารถและกระบวนการภายในรองรับ ทำให้บริษัทนี้โดดเด่นจากบริษัทซื้อขายรถมือสองอื่นๆ อย่างเห็นได้ชัด”
ความสำเร็จนี้ ยังอาศัยการใช้โมเดลองค์กรปรับตัวเชิงบูรณาการ ซึ่งประกอบด้วย Strategic Management กับโมเดลบริหารการเปลี่ยนแปลง ไปวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลง ไปวิเคราะห์ร่วมกัน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงจะทำเฉพาะส่วนที่ยืดหยุ่นและไม่เร็วได้เท่านั้น โดยดึงเอาเฉพาะประเด็น “จิตวิทยาเชิงบวก-องค์กร” ออกมา อันดับแรก ความพยายามบริหารแบบมีส่วนร่วม รวมถึงลูกค้าและชอบเรียนรู้ถึงความต้องการลูกค้า (Leadership & Management Style)

อันดับต่อมา ตั้งเป้าหมาย ที่ไม่เพียงให้สินค้าขายได้ แต่ต้องให้ลูกค้าพึงพอใจอึกด้วย (Result) และอันดับสุดท้าย ประเมินขีดความสามารถตนเอง (Competency) ว่าตนเองทำได้หรือไม่ และโดดเด่นหรือไม่ และกระบวนการจัดการภายใน ซึ่งได้แก่ ส่วนภายในอาทิ ฝ่ายบริหารกับทรัพยากรบุคคลหรือโรงงาน การออกแบบโมเดลนี้ช่วยให้รับมือกับวิกฤตหรือการเปลี่ยนแปลงได้อย่างพอดิบพอเหมาะอย่างได้ผล

ขณะที่ ขั้นตอนของการฝ่าวิกฤตองค์กร ด้วยจิตวิทยาเชิงบวก เริ่มต้นจาก การใช้กลยุทธ์ SWOT (จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค) โดยวิเคราะห์ ทุนทางจิตวิทยา (เป็นความสามารถเชิงบวกของสภาวะจิตใจของแต่ละบุคคลที่พัฒนาได้ ในการรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างสร้างสรรค์) จากนั้นเลือกเฉพาะ จุดแข็ง (Strengths) และ โอกาส (Opportunities) มากำหนดกลยุทธ์หรือ SO Strategies ซึ่งขยายผลด้วยสูตร DIVO Model

SO Strategies แบบ DIVO Model
• Differentiation สร้างความแตกต่างที่เหนือกว่าคู่แข่ง
• Imitate Hardily สร้างเอกลักษณ์ที่ยากจะลอกเลียนแบบ
• Value สร้างคุณค่าที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า อันจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด สร้างแบรนด์ และเพิ่มราคา
• Organization สร้างระบบระเบียบจัดการอย่างมีประสิทธิภาพในการใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีอยู่ตามแนวคิดสายโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain:นำเข้า-ผลิต-ส่งออก-การตลาดการขาย-บริการหลังการขาย)

เคล็ดลับ สู่ องค์กรสมรรถนะยั่งยืน
เทคนิคการนำไปใช้อย่างไรได้ผล สำหรับจิตวิทยาเชิงบวกสำหรับองค์กร ดร.นพ.ยุทธนาเผยว่าเป้าหมายอยู่ที่ Leadership Style ขององค์กร หรือถ้าหากเป็นทีมงาน ก็อยู่ที่หัวหน้าทีมเวิร์ค แต่ถ้าเป็นตัวบุคคล อยู่ที่ Awareness คือการตระหนักรู้ ซึ่งได้แก่ ทัศนคติ แรงจูงใจ วิธีคิด และค่านิยม ที่อยู่ในตัวตนและจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นทุนพัฒนาจิตวิทยาองค์กร Organization Development

ในกรณีองค์กรที่มีการปรับตัวเชิงบูรณาการเราต้องมุ่งพัฒนาในด้าน “ทุนทางจิตวิทยา”เน้นไปที่คน ในรูปแบบ สไตล์การบริหารจัดการ และภาวะผู้นำ (Leadership & Management Style) ขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competency) กระบวนการภายใน (Internal Process) และผลสำเร็จ (Result) และการเรียนรู้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนความสามารถในการปรับเปลี่ยนหรือปรับตัวขององค์กร หากองค์กรเกิดวิกฤต นอกจากนี้ในแง่การพัฒนาทุนจิตวิทยา ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ซึ่งกดดันในการกำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขัน สามารถใช้โมเดล Porter’s 5 Forces ในการประเมิน (Porter’s 5 Forces มีการแข่งขันกับคู่แข่งเดิม เป็นแกนหลัก โดยมี 4 ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ คู่แข่งใหม่ อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ อำนาจต่อรองของผู้ป้อนปัจจัยการผลิต และสินค้าทดแทน เป็นปัจจัยกดดันเข้ามา) ซึ่งจะทำให้สามารถสร้างความแตกต่างและมูลค่าจากคู่แข่งได้

อย่างไรก็ตาม การใช้จิตวิทยาเชิงบอกสำหรับองค์กร อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ดร.นพ.ยุทธนา บอกว่า เนื่องจาก จุดอ่อนของจิตวิทยาเชิงบวก คือ การร่วมมือ เพราะการเปลี่ยนแปลงระดับบุคคล จะได้มากหรือน้อยเท่าไหร่อยู่ที่ปัจจัยเอื้อ ซึ่งถ้าหากพูดในแง่บริหารจัดการ หมายถึง วัฒนธรรมองค์กร เช่นวัฒนธรรมให้มีส่วนร่วม เรียนรู้ ถ้าไม่มีตรงนี้ถึงจะแก้ทุนทางการเงินหรือทุนทางโครงสร้างไปองค์กร/คนไม่ยั่งยืน
สำคัญที่สุด คือ ผู้นำต้องลงมากำหนดเป็น Core Value ขององค์กรเลยหรือค่านิยมกลางหลัก ถ้าหากหัวหน้าเวิร์กตั้งใจมีลีดเดอร์ชิพ (ซีอีโอหรือหัวหน้างาน) ก็ดี จะขับเคลื่อนและสำเร็จ

20 คุณสมบัติผู้ประกอบการฝ่าวิกฤต
ดร.นพ.ยุทธนา ยังบอกอีกว่า สำหรับบุคคล จิตวิทยาเชิงบวกยังสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคุณลักษณะที่เด่นๆ 20 ข้อ ซึ่งหากมีผู้ประกอบการใดมีก็จะสามารถเป็นภูมิคุ้มกันฝ่าวิกฤติต่างๆ ไปได้
หนึ่ง-ความเชื่อในสมรรถนะของตน (Self Efficacy) ซึ่งอยู่ภายในและมั่นคง เป็นความมั่นใจว่า ความสามารถของตนเพียงพอในการรับมือและเอาชนะต่อสิ่งท้าทายที่ต้องเผชิญ ได้แก่

1. ความกล้าหาญ                           2. ตอบสนองสิ่งท้าท้ายอย่างมั่นใจ
3. บริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ      4. ความเชื่อมั่น
5. ความมีสมรรถภาพ

สอง-ความยืดหยุ่น (Resiliency) ซึ่งอยู่ภายในและยืดหยุ่น เป็นความสามารถในด้านบวกในการต้านทานและรับมือกับความเครียดและอุปสรรคปัญหา อีกทั้งสามารถรื้อฟื้นตนเองกลับสู่ปกติได้อย่างรวดเร็ว หลังเผชิญกับสถานการณ์ที่ยากลำบาก ได้แก่

1. ความพยายามมุ่งมั่น                    2. ความต้องการความสำเร็จ
3. กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน             4. มองการณ์ไกล
5. ความมีพลัง-ภาวะผู้นำ

สาม-ความหวัง (Hope) ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกและมั่นคง เป็นความรู้สึกด้านบวกต่อจุดมุ่งหมาย (Goal) ว่าจะสำเร็จได้ ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่นพากเพียร (Willpower) ในการค้นหาและทำตามกรรมวิธี (Waypower) เพื่อมุ่งสู่จุดหมายนั้น ได้แก่

1. ความกระตือรือร้น                        2. ความฉลาด
3. รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา                   4.อดทนต่อสิ่งกำกวม
5. ความเข้ากันได้ดีกับผู้อื่น

สี่-การมองโลกในแง่ดี (Optimism) ซึ่งเป็นลักษณะภายนอกและยืดหยุ่น เป็นความสามารถในการคาดหวังผลลัพธ์ด้านบวก ท่ามกลางอุปสรรคปัญหา เป็นมุมมองที่เชื่อว่าโลก ได้แก่

1. ความคิดบวก                               2. ความคิดสร้างสรรค์
3. บุคลิกภาพที่เป็นมิตร                     4. ยิ้มง่าย อารมณ์ดี
5. การแก้ปัญหาได้ดี

468 ad